วันอาทิตย์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2557



พระอาจารย์เล็ก ตอบเรื่อง "การแผ่เมตตาและการอุทิศส่วนกุศล"
ถาม : การแผ่เมตตา..(ไม่ได้ยิน).. ?
ตอบ : แผ่เมตตากับอุทิศส่วนกุศลเป็นคนละเรื่องกัน แผ่เมตตา คือ เราตั้งความ หวังดีปรารถนาดีต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ขอให้เขาล่วงพ้นจากกองทุกข์ มีแต่ความสุข ส่วนอุทิศส่วนกุศลก็คือเราทำความดีอะไรมา ก็แบ่งปันให้แก่ผู้อื่นเขา






พระอาจารย์เล็ก ตอบเรื่อง "ยิ่งทำเหมือนยิ่งโง่"

ถาม : ...
ตอบ : ต้องใช้คำว่าเป็นกติกาอย่างหนี่ง ถ้าหากต้องการหลุดพ้นจริง ๆ ก็ต้องเจอข้อทดสอบที่ค่อนข้างโหดร้ายในสายคน อื่น แต่ว่าถ้ายิ่งทดสอบไป ก็เหมือนกับเรายิ่งทำแล้วยิ่งโง่ เพราะเราจะเห็นความผิดพลาดหรือข้อบกพร่องในส่วนที่ละเอียดของตัวเราเองขึ้น ไปเรื่อย ๆ


พระอาจารย์เล็กตอบเรื่อง "บุญเก่าผสมบุญใหม่"
ถาม : หมายความว่า บุญเก่า บุญใหม่ มาผสมกันเมื่อไรจะเป็นพระอรหันต์ ซึ่งตรงนี้ต้องรอวาระ ต้องทำอย่างไร ถึงจะมาบรรจบกันได้ ?
ตอบ : ใครเป็นคนบอกคุณวะ ?


หลักธรรมที่แท้จริงคือ จิต จิตของเราทุกคนนั่นแหละ คือหลักธรรมสูงสุดในจิตใจเรา นอกจากนั้นแล้ว ไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย ..จิตนี้แหละ คือ หลักธรรม ซึ่งนอกไปจากนั้นแล้ว ก็ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต

ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น เมื่อนั้นเราอาจกล่าวได้ว่าคลองแห่งคำพูดได้ถูกตัดทอนไปแล้ว พิษของจิตได้ถูกถอนขึ้นจนหมดสิ้น จิตในจิตก็จะเหลือแต่ความบริสุทธิ์ ซึ่งมีอยู่ประจำแล้วทุกคน..

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล.

อารมณ์ของใจเป็นสำคัญ ถ้าหากยังฟุ้งอยู่ด้วยความยินดีหรือไม่ยินดี ก็นับว่าอารมณ์ยังเลวอยู่ ขาดเมตตาต่อจิตของตนเอง จึงยังอารมณ์ให้หวั่นไหวอยู่ และอารมณ์นั้นก็สร้างทุกข์ให้เกิด อย่างนี้เสียผลของการปฏิบัติหรือไม่" (ก็รับว่าเสียหาย)

๑๒. "การคิดให้สับสน นำเรื่องโน้นเรื่องนี้เข้ามาหลายเรื่อง ทำให้อารมณ์จิตวุ่นวาย หาความสงบมิได้ จุดนี้ขอให้เจ้าพิจารณาให้ดี ๆ อย่าสักแต่ว่าเรื่องภายนอก แม้กระทั่งธรรมภายในก็เช่นกัน จับโน่นวางนี่ กรรมฐานทั้ง ๔๐ กอง หากไม่ขึ้นต้นด้วยอานาปานัสสติให้ทรงตัวเสียก่อนแล้ว จิตเจ้าก็ไปคว้าหมวดโน้นนิด หมวดนี้หน่อย ก็ทำให้อารมณ์จิตสับสนวุ่นวาย สุดท้ายก็เอาอะไรดีไม่ได้"

วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557





พระพุทธองค์ตรัสถึงกฎแห่งกรรมว่า
อดีตชาติได้แต่ประกอบแต่กรรมดี
จึงได้เกิดมามียศสูงศักดิ์และร่ำรวยในโภคทรัพย์ ผู้ใดบำเพ็ญธรรมมาตลอดจะได้บุญวาสนาไปทุกภพทุกชาติ มนุษย์จงฟังให้ดี
ฟังตถาคตกล่าวผลกรรมของไตรภพผลกรรมของไตรภพเป็นเรื่องใหญ่
จงอย่าดูหมิ่นพุทธพจน์ จงฟังผลกรรมดังต่อไปนี้



แว่นส่องความเป็นพระโสดาบัน
อานนท์ ! เราจักแสดง ธรรมปริยายอันชื่อว่า
แว่นธรรม ซึ่งหากอริยสาวกผู้ใด ได้ประกอบพร้อมแล้ว
เมื่อจำนงจะพยากรณ์ตนเอง ก็พึงทำได้ในข้อที่ตน
เป็นผู้มีนรกสิ้นแล้ว มีกำเนิดเดรัจฉานสิ้นแล้ว มีเปรตวิสัย
สิ้นแล้ว มีอบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว, ในข้อที่ตนเป็น
พระโสดาบันผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เที่ยงแท้ต่อ
พระนิพพาน เป็นผู้มีอันจะตรัสรู้ธรรมได้ในกาลเบื้องหน้า
ดังนี้.


วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

ธรรมสอนใจ "กรรมเรื่องคู่"


ไตรสิกขา

ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 หมายถึงข้อสำหรับศึกษา, การศึกษาข้อปฏิบัติที่พึงศึกษา, การฝึกฝนอบรมตนในเรื่องที่พึงศึกษา 3 อย่างคือ
  1. อธิสีลสิกขา คือศึกษาเรื่องศีล อบรมปฏิบัติให้ถูกต้องดีงาม ให้ถูกต้องตามหลักจุลศีล มัชฌิมศีล และมหาศีล ตลอดถึงปฏิบัติอยู่ในหลัก มัชฌิมศีล และมหาศีล ตลอดถึงปฏิบัติอยู่ในหลักอินทรียสังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ
  2. อธิจิตตสิกขา คือศึกษาเรื่องจิต อบรมจิตให้สงบมั่นคงเป็นสมาธิ ได้แก่การบำเพ็ญสมถกรรมฐานของผู้สมบูรณ์ด้วยอริยศีลขันธ์จนได้บรรลุฌาน 4
  3. อธิปัญญาสิกขา คือศึกษาเรื่องปัญญาอบรมตนให้เกิดปัญญาแจ่มแจ้ง ได้แก่การบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานของผู้ได้ฌานแล้วจนได้บรรลุวิชชา 8 คือเป็นพระอรหันต์

วันอังคารที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2557

คิริมานนทสูตร




สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็น
ไข้หนักครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาค แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาสขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่าน พระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า ฯ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา๑๐ ประการ
แก่คิริมานันทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานันทภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟัง
สัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ประการเป็นไฉน คือ >>

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของวิปัสสนา









                                             ประโยชน์ของวิปัสสนา 28 ข้อ


1. ทำให้เป็นคนฉลาด เฉลียว
2. ทำให้เป็นคนรู้จักปรมัตถธรรม
3.ทำให้เป็นคน มีศีลธรรม มีวัฒนธรรม ดีงาม
4. ทำให้เป็นคน รักใคร่กัน สามัคคีกลมเกลียวกัน
5. ทำให้เป็นคน มีเมตตา กรุณา
6. ทำให้เป็นคน ดีกว่าคน
7. ทำให้เป็นคน ไม่เบียดเบียน ไม่เอาเปรียบใคร
8. ทำให้เป็นคนรู้จักตัวเอง รู้จักปกครองตนเอง
9. ทำให้เป็นคน ไม่ถือตัว ไม่มีทิฐิมานะ
10. ทำให้เป็นคน ชอบหันหน้าเข้าหากัน รักใคร่กัน
11. ทำให้เป็นคนหนักแน่น ในความกตัญญู กตเวทิตา
12. ทำให้เป็นคน มีกาย วาจา และใจบริสุทธิ์สะอาด
13. ทำให้เป็นคนมีความสุข
14. ทำให้เป็นคน พ้นจากความเศร้าโศก